บทบาทสามปีแรกของ คณะเชิชเชส ออฟ ไครสต์ ที่ "บ้านฝรั่ง ดงตาล"
นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2446 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2449 รวมเป็นเวลา 3 ปีเศษ ธรรมฑูตทั้งสองของคณะเชิชเชส ออฟ ไครสต์ ที่นครชุมน์ปฏิบัติงานอยู่นั้น ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเพราะ
1.ชาวบ้าน (ชาวมอญ) ยังคงนับถือผีและพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ยากยิ่งที่จะหันมานับถือศาสนาคริสต์ เพราะปรากฏมีคริสตสมาชิกเพียง 5 คน เป็นชาวกะเหรี่ยง 2 คน ชาวพม่า 1 คน(จากพม่า) คนไทย 1 คน และ "ชาวพื้นเมือง" (คงหมายถึงชาวมอญ-ผู้เขียน) ซึ่งเคยบวชเรียนมาแล้ว 1 คน ชื่อ "ออกบู"
จากการสัมภาษณ์คุณมาลัย ชุมศรี (ปัจจุบันอายุ 80 ปี) เป็นชาวบ้านม่วง ที่เป็นคริสเตียนเคยไปเรียนนครปฐม จบพยาบาลผดุงครรภ์ของคริสตจักรนครปฐม มีแหม่มคลาร์กเป็นอาจารย์ และเคยกลับมาสอนที่โรงเรียนในบ้านฝรั่ง ดงตาล นี้ ท่านเล่าว่า "คุณปู่ท่านชื่อ "ออกเปอร์ ยังโดด" เดิมเป็นชาวนครชุมน์ แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านม่วง เดิมนับถือศาสนาพุทธ และได้สนิทสนมกับ "ฝรั่ง" ที่มาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในระนะแรก (ฝรั่ง คงหมายถึง ศาสนาจารย์ฮัดสันและคุณหมอ-ผู้เขียน) จึงหันมานับถือศาสนาคริสต์ ฉะนั้น "ออกบู" คือ "ออกเปอร์ ยังโดด"
และออกเปอร์ ยังโดด คือ "คริสเตียนชาวมอญคนแรกของนครชุมน์และบ้านม่วง"
นับว่าการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในหมู่ชาวมอญแถบนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ คุณหมอจึงหันมาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในหมู่ชาวบ้านนครปฐมแทน จึงย้ายฐานมานครปฐม ซึ่งประสบผลสำเร็จมากกว่า
2.บ้านฝรั่ง ดงตาล อยู่ในทำเลค่อนข้างกันดาร อยู่ไกลชุมชนอื่นๆ การคมนาคมในสมัยนั้นก็ไม่สะดวกเท่าที่ควร
3.ด้านการศึกษา ชาวมอญมักให้ลูกชายเรียนหนังสือในวัด ลูกหญิงไม่ยอมเรียนหนังสือจึงไม่ค่อยมีใครไปเรียนนัก
ด้านเดียวที่ประสบผลสำเร็จ คือ ด้านการรักษาพยาบาลและสาธารณสุขแบบใหม่ ที่ชาวบ้านได้รับและเริ่มตระหนัก ชาวบ้านจึงมีความรู้สึกและทรงจำที่ดีกับบ้านฝรั่ง ดงตาล มาจนทุกวันนี้
บ้านฝรั่งดงตาล (ร้าง) |
บ้านฝรั่ง ดงตาล ในฐานะสถานประเทศย่อย
(มิถุนายน 2449-สงครามโลกครั้งที่ 2)
ความทรงจำของชาวบ้านนครชุมน์และบ้านม่วงต่างเล่าว่า เมื่อคุณหมอและแหม่มคลาร์กย้ายไปแล้ว นานๆ จะมีฝรั่ง 2-3 คนมาสวด ร้องเพลง คริสตสมาชิกของบ้านฝรั่งดงตาล คงจะช่วยดูแลและดำเนินภารกิจสถานประเทศนี้ได้บ้าง ทางคริสตจักรนครปฐมจะส่งศาสนาจารย์หรือผู้ประกาศมาเยี่ยมหรือสวดบ้าง
ในระหว่าง พ.ศ.2453-2465 (รวม 12 ปี) ศาสนาจารย์รอเบิรท์ ฮาลิเดย์ และครอบครัว จากสำนักคณะเชิชเชส ออฟ ไครสต์ ที่เมืองเย ในพม่า ได้เดินทางมาร่วมงานกับคุณหมอและแหม่มคลาร์กที่คริสตจักรนครปฐม โดยมุ่งเน้นเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาและช่วยเหลือชาวมอญตามหมู่บ้านที่กระจัดกระจายอยู่ตามแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา เรือลำน้อย ชื่อ แสงอรุณ (Day Spring) ที่มีผู้อุทิศให้และนำมาจากอังกฤษ
ศาสนาจารย์ฮาลิเดย์ก็คงเป็น "ฝรั่ง" คนหนึ่งที่เคยไปสำนักประกาศบ้านนครชุมน์ ริมแม่น้ำแม่กลอง ท่านเห็นว่า ชาวมอญที่มีรกรากตามแม่น้ำต่างๆ ในประเทศไทยนั้นมีจำนวนมาก ล้วนเป็นประชาชนชาวไทยโดยกำเนิดอย่างสมบูรณ์
แสดงให้เห็นว่า การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในหมู่ชาวมอญนั้น คณะเชิชเชส ออฟ ไครสต์ ได้พยายามอยู่ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ศาสนาจารย์ฮาลิเดย์จึงเดินทางกลับพม่า หลังจากใช้เวลาในเมืองไทยถึง 12 ปี ศาสนาจารย์ฮาลิเดย์เป็นผู้มีความรู้ เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์มอญและภาษามอญโบราณมาก ท่านได้เขียนหนังสือและแต่งปทานานุกรมภาษามอญ-ภาษาอังกฤษ ที่ใช้กับประเทศพม่าจนทุกวันนี้
ที่มา :
สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์. (2536). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลุ่มน้ำแม่กลอง : ศึกษากรณีชุมชนมอญบ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี. ลุ่มน้ำแม่กลอง : พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยศิลปากร : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์. (หน้า 101-106)
ในระหว่าง พ.ศ.2453-2465 (รวม 12 ปี) ศาสนาจารย์รอเบิรท์ ฮาลิเดย์ และครอบครัว จากสำนักคณะเชิชเชส ออฟ ไครสต์ ที่เมืองเย ในพม่า ได้เดินทางมาร่วมงานกับคุณหมอและแหม่มคลาร์กที่คริสตจักรนครปฐม โดยมุ่งเน้นเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาและช่วยเหลือชาวมอญตามหมู่บ้านที่กระจัดกระจายอยู่ตามแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา เรือลำน้อย ชื่อ แสงอรุณ (Day Spring) ที่มีผู้อุทิศให้และนำมาจากอังกฤษ
ศาสนาจารย์ฮาลิเดย์ก็คงเป็น "ฝรั่ง" คนหนึ่งที่เคยไปสำนักประกาศบ้านนครชุมน์ ริมแม่น้ำแม่กลอง ท่านเห็นว่า ชาวมอญที่มีรกรากตามแม่น้ำต่างๆ ในประเทศไทยนั้นมีจำนวนมาก ล้วนเป็นประชาชนชาวไทยโดยกำเนิดอย่างสมบูรณ์
แสดงให้เห็นว่า การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในหมู่ชาวมอญนั้น คณะเชิชเชส ออฟ ไครสต์ ได้พยายามอยู่ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ศาสนาจารย์ฮาลิเดย์จึงเดินทางกลับพม่า หลังจากใช้เวลาในเมืองไทยถึง 12 ปี ศาสนาจารย์ฮาลิเดย์เป็นผู้มีความรู้ เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์มอญและภาษามอญโบราณมาก ท่านได้เขียนหนังสือและแต่งปทานานุกรมภาษามอญ-ภาษาอังกฤษ ที่ใช้กับประเทศพม่าจนทุกวันนี้
ที่มา :
สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์. (2536). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลุ่มน้ำแม่กลอง : ศึกษากรณีชุมชนมอญบ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี. ลุ่มน้ำแม่กลอง : พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยศิลปากร : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์. (หน้า 101-106)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น