ความหมาย: - หมายถึง เครื่องแสดงถึงความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน(ตราประจำจังหวัดราชบุรีในปัจจุบันมีลักษณะมีลักษณะดวงตราเป็นวงกลม มีสัญลักษณ์รูปเครื่องราชกุธภัณฑ์สองอย่าง คือพระแสงขรรค์ชัยศรีบนพระที่และฉลองพระบาทคู่บนพานทอง ในอดีต ตราประจำของราชบุรีใช้สัญลักษณ์ภูเขาล้อมรอบด้วยงูใหญ่ ซึ่งมีความหมายถึง“เขางู” อันเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และรู้จักอย่างแพร่หลาย ต่อมาเห็นว่าสัญลักษณ์เขางูสื่อความหมายไปทาง โบราณสถานมากกว่าความหมายเกี่ยวกับราชบุรีอย่างแท้จริง และตราสัญลักษณ์นี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ประทานตราให้กองเสือป่ามณฑลราชบุรีที่เขางู จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ตราปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 เป็นต้นมา )
อักษรย่อจังหวัด: รบ.
อักษรย่อจังหวัด: รบ.
เพิ่มเติม.
ตราจังหวัดราชบุรี แต่เดิมเป็นอาร์ม (Arm) วงกลม ใช้สัญญลักษณ์รูปน้ำหลากทุ่ง มีภูเขาเป็นฉากหลัง ล้อมรอบด้วยงูใหญ่ ส่วนของท้องฟ้าเหนือภูเขานั้นมีตราครุฑซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินและเครื่องหมายของทางราชการ กำกับด้วยข้อความว่า "จังหวัดราชบุรี" ที่ตอนล่างภายในกรอบอาร์ม หมายความถึง "เขางู" อันเป็นสถานที่สำคัญและรู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในหมู่ชาวราชบุรีเองและชาวจังหวัดใกล้เคียง
ตราดังกล่าวเริ่มปรากฏใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2500 สันนิษฐานว่า อาจจะเป็นคราวเดียวกับที่กระทรวงศึกษาธิการได้ฟื้นฟูกิจการลูกเสือแห่งชาติโยขอความร่วมมือให้แต่ละจังหวัดกำหนดตราสัญลักษณ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายสำหรับติดผ้าพันคอ แสดงภูมิลำเนาของกองลูกเสือซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดนั้นๆ
จังหวัดราชบุรีได้ใช้สัญลักษณ์ "เขางู" เป็นตราประจำจังหวัดตั้งแต่นั้นมา จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช 2509 จึงเห็นว่า "เขางู" นั้น สื่อความหมายไปในแง่ของโบราณสถาน มิได้หมายความเกี่ยวพันกับชื่อของจังหวัด "ราชบุรี" (บาลี, ราช+ปุร หมายถึง เมืองแห่งพระราชา) แต่ประการใด จึงเป็นการสมควรที่จะได้กำหนดสัญลักษณ์ประจำจังหวัดแทนตราเดิมที่ใช้อยู่ โดยได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ไปยังกรมการปกครองของให้กรมศิลปากรพิจารณาออกแบบให้ต่อไป
สำหรับดวงตราใหม่นั้น ทางกรมศิลปากรได้มอบหมายให้งานศิลปประยุกต์ กองหัตถศิลป (ปัจจุบันเป็ยสถาบันศิลปกรรม) โดยนายพินิจ สุวรรณบุณย์ เป็นผู้คิดค้นออกแบบ ลักษณะของดวงตราเป็นอาร์มวงกลมใช้สัญลักษณ์รูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ 2 สิ่ง คือ พระแสงขรรชัยศรีประดิษฐานอยู่บนบันไดแก้ว และฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานอยู่บนพานรอง ขอบอาร์มเป็นลายชื่อกนก ประกอบพื้นช่องไฟใช้สีตามเหมาะสมสวยงามด้านศิลป ทั้งนี้ได้แนวความคิดมาจากหลักฐาน "รูปฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานอยู่บนพานรอง" ที่ปรากฏบนผืนธง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้แก่กองเสื้อป่ามณฑลราชบุรี เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2467 ซึ่งปัจจุบันธงข้างต้นเก็ยรักษาไว้ที่ห้องพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี
จังหวัดราชบุรีโดยสภาจังหวัดได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติให้ใช้ตราสัญลักษณ์ใหม่นี้ เป็นตราประจำจังหวัดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2509 เป็นต้นมาตราบจนปัจจุบันนี้
ที่มา :
-มโน กลีบทอง. (2544). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี และจังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาพันธ์. หน้า 208
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น