ต่อจาก ความพินาศของราชบุรี-ระเบิดสะพานครั้งที่ 2
ในคราวทิ้งระเบิดสะพานจุฬาลงกรณ์ครั้งที่ 3 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ นับว่าเป็นครั้งสุดท้าย ส่งผลให้สะพานจุฬาลงกรณ์ หัก และสะพานบางส่วนจมไปในน้ำ ไม่สามารถใช้งานได้ ในวันที่ 11 ก.พ.2488 นายสละ จันทรวงศ์ ได้บันทึกไว้ดังนี้
ในคราวทิ้งระเบิดสะพานจุฬาลงกรณ์ครั้งที่ 3 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ นับว่าเป็นครั้งสุดท้าย ส่งผลให้สะพานจุฬาลงกรณ์ หัก และสะพานบางส่วนจมไปในน้ำ ไม่สามารถใช้งานได้ ในวันที่ 11 ก.พ.2488 นายสละ จันทรวงศ์ ได้บันทึกไว้ดังนี้
ความพินาศครั้งที่ 3 - 11 กุมภาพันธ์ 2488 อวสานของสะพานจุฬาลงกรณ์สัมพันธมิตรมีชัยในพะม่า ในการศึกที่เทือกเขาพะโคแห่งเดียว พันธมิตรจับชะเลยได้ 800 คน ภายใน 10 วัน วิญญาณบูชิโดกำลังดับชีพลงในพะม่า ทหารญี่ปุ่นพยายามตีฝ่าออกจากที่ล้อมของทหารอังกฤษในแถบลุ่มแม่น้ำสโตง
ที่จังหวัดราชบุรี ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะถูกตัดทางคมนาคมเสีย แต่ด้วยความทรหดอดทน และความจำเป็นทำให้ญี่ปุ่นดำเนินการลำเลียงติดต่อได้ผลดี ดังนั้นสัมพันธมิตรจึงต้องมาระเบิดสายคมนาคมแทบทุกวัน
24 น.ของวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เป็นยามดึกสงัด ทุกสิ่งทุกอย่างเงียบสงัด สงบอยู่ในความมืด บ้านเรือนที่เคยได้ถูกบอมบ์ ก็เหลือแต่เสาปักโดเด่อยู่ท่ามกลางรัตติกาล ต้นไม้ที่แห้งเหี่ยวก็ไหวโยกเมื่อยามลมพัด เสียงใบไม้เท่านั้นที่ดังเกลียวกราว เมื่อลมพัด เสียงที่ดังแว่วมานั้นเป็นเสียงลมตามธรรมชาติเท่านั้น แม้แต่สุนัขสักตัวเดียวก็หายาก ท้องฟ้าระยิบระยับไปด้วยแสงดวงดาวดาษเต็มท้องฟ้า เป็นเวลาข้างแรม ความมืดมัว ไม่ปรากฏว่าจะมีแสงตระเกียงสักดวงเดียว ทิ้งไว้แต่เสาไฟฟ้าที่สูงเด่นปราศจากสายไฟ แม้แต่หลอดสักดวงเดียวก็หายาก ถ้าเราทำเข็มตกในขณะนั้น เสียงนั้นจะสเทือนเลื่อนลั่นคล้ายกับเสียงบอมบ์
ที่มา :เครื่องบินทิ้งระเบิดทางไกล B.24 จำนวน 5 เครื่อง เข้ามาทำการโจมตีตอนกลางคืน พร้อมด้วยพลุร่มจำนวนมาก รายการการโจมตีครั้งนี้ หวังตัดการลำเลียงของญี่ปุ่น จำนวนลูกระเบิดที่ทิ้งจึงแม่นยำกว่าครั้งก่อน พลุร่มนับจำนวนได้เกือบ 80 ดวง ความสว่างเท่ากับ แสนๆ ล้านร้อยแรงเทียนไฟฟ้า นักบินยิงกราดด้วยปืนกลเครื่องบินลงในค่ายพักญี่ปุ่น การระเบิดซ้ำๆ ซากๆ ทำให้บ้านเรือนผืนแผ่นดินวินาศตามๆ กันไป
สะพานจม-12 กุมภาพันธ์ 2488เช้าตรู่ 06.30 น.ของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ลูกระเบิดขนาดหนัก ซึ่งนักบินทิ้งลงมาเมื่อคืนนี้ ถึงเวลาระเบิดซึ่งตกอยู่ใจกลางสะพาน เสียงระเบิดกลบควันระเบิด สะเก็ดระเบิดเหวี่ยงไปพร้อมกลับเศษสะพาน เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย พอสงบเสียงระเบิด ก็พลันเสียงลั่นของสะพานตอนต้นฝั่งเมือง ค่อยๆ เอนลงๆ ดังค่อยๆ จนแรงๆ ปะทะกับน้ำดังสนั่นหวั่นไหว น้ำแตกกระจายเป็นลูกคลื่น นั่นคือกาลและเวลาอวสานของสะพาน
สละ จันทรวงศ์. (2470-2490). บันทึกส่วนตัว. เขียนด้วยลายมือ.
บทความที่เกี่ยวข้อง
-พิสูจน์ทราบหัวรถจักร ใต้สะพานจุฬาลงกรณ์
-ความพยายามในการกู้หัวรถจักร ใต้สะพานจุฬาลงกรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น