วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลทั่วไป จ.ราชบุรี (ล่าสุด 17 ก.ย.2552)

ด้านกายภาพ
จังหวัดราชบุรี ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางด้านตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ 5,196,462 ตาราง กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลขที่ 4 ประมาณ 100 กิโลเมตร มีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดนครปฐมและจังหวัดสมุทรสงคราม ทิศตะวันตกติดต่อประเทศพม่า มีชายแดนยาว 73 กิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงทางด้านตะวันตกและค่อยเทเป็นที่ราบลุ่มถึงที่ราบต่ำไปทางตะวันออกมีปริมาณน้ำฝนที่ตกเฉลี่ยใน ปี 2551 วัดได้ 1,007 มิลลิเมตร มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 19-38 องศาเซลเซียส

ด้านการปกครองและประชากร
แบ่งการปกครองออกเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค และการปกครองส่วนท้องถิ่นดังนี้ การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 104 ตำบล และ 975 หมู่บ้าน การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 3 เทศบาลเมือง 25 เทศบาลตำบล และ 83 องค์การบริหารส่วนตำบล มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 828,930 คน เป็นชาย 405,852 คน หญิง 423,078คน  จำนวนครัวเรือน 259,711 ครัวเรือน (ข้อมูลกรมการปกครอง ณ เดือน กันยายน 2552)

ด้านสังคม
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 97.48 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 2.06 และนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 0.54 ส่วนสถิติคดีอาชญากรรมของจังหวัด ปี 2549 รับแจ้ง 5,797 ราย จับกุมได้ 6,399 ราย ปี 2550 รับแจ้ง 6,939 ราย จับกุมได้ 8,075 ราย ปี 2551 รับแจ้ง 7,346 ราย จับกุมได้ 7,871 ราย

ด้านการศึกษา
จังหวัดราชบุรีแบ่งพื้นที่เขตการศึกษาเป็น 2 เขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 ประกอบด้วย สถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอจอมบึง อำเภอสวนผึ้ง อำเภอปากท่อ อำเภอวัดเพลง และอำเภอบ้านคา มีสถานศึกษา รวม จำนวน 199 แห่ง
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 ประกอบด้วย สถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่อำเภอ ดำเนินสะดวก อำเภอบ้านโป่ง อำเภอบางแพ และอำเภอโพธาราม มีสถานศึกษารวม จำนวน 168 แห่ง
ด้านสาธารณสุข
จังหวัดราชบุรีมีโรงพยาบาลของรัฐ 12 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 8 แห่ง สถานีอนามัย 162 แห่ง ด้านบุคลากร แพทย์ จำนวน 238 คน ทันตแพทย์ 43 คน เภสัชกร 95 คน พยาบาล 1,823 คน เจ้าหน้าที่
สาธารณสุข 340 คน

อัตราการเกิดโรคติดต่อที่สำคัญ 10 ลำดับแรกของจังหวัดราชบุรี
  1. โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ผู้ป่วย 9,970 คน (อัตราต่อประชากรแสนคน 1,199.1274)
  2. PUO ผู้ป่วย 1,359 คน (อัตราต่อประชากรแสนคน 163.4518)
  3. โรคเกี่ยวกับปอด ผูัป่วย 1,028 คน (อัตราต่อประชากรแสนคน 123.6412)
  4. ไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วย 930 คน (อัตราต่อประชากรแสนคน 111.8544)
  5. โรคอีสุขอีใส ผู้ป่วย 875 คน (อัตราต่อประชากรแสนคน 105.2394)
  6. โรคเกี่ยวกับเยื่อตา ผู้ป่วย 646 คน (อัตราต่อประชากรแสนคน 77.6967)
  7. มาเลเรีย ผู้ป่วย 610 คน (อัตราต่อประชากรแสนคน 73.3669)
  8. ไข้เลือดออก ผู้ป่วย 572 คน (อัตราต่อประชากรแสนคน 68.7965)
  9. อาหารเป็นพิษ ผู้ป่วย 511 คน (อัตราต่อประชากรแสนคน 61.4598)
  10. D.H.F. ผู้ป่วย 266 คน (อัตราต่อประชากรแสนคน 31.9928)
ด้านเศรษฐกิจ
จังหวัดราชบุรี มีอัตราการขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 – 2551 เฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี เศรษฐกิจจังหวัดราชบุรีพึ่งพิงสาขาการผลิตที่สำคัญคือ สาขาอุตสากรรรม ในปี 2551 มีมูลค่าการผลิต 108,361.1 ล้านบาท เฉลี่ยต่อหัวประชากร เท่ากับ 130,600 บาท

ด้านอุตสาหกรรม
ในปี 2552 จังหวัดราชบุรี มีโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 1,322 โรงงาน จำนวนเงินลงทุน 6,262,980,925 ล้านบาท โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรม อาหาร(177 โรงงาน)รองลงมา เป็นอุตสาหกรรมอโลหะ(157 โรงงาน) อุตสาหกรรมขนส่ง( 144 โรงงาน) อุตสาหกรรมการเกษตร (101 โรงงาน) และอุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้(100 โรงงาน)

ด้านการเกษตรกรรม
มีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 1,157,466 ไร่ พื้นที่ป่าประมาณ 1,239,236 ไร่ และพื้นที่อุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย พื้นที่สาธารณะและพื้นที่อื่นๆ ประมาณ 1,618,728 ไร่ จังหวัดราชบุรีมีมูลค่าการผลิตในภาคเกษตร จำนวน 17,640 ล้านบาท ในด้านการปศุสัตว์ มีการผลิตสุกรได้มากที่สุดของประเทศ ประมาณ 1,313,000 ตัว มูลค่า 3,940 ล้านบาท ในส่วนการประมง จังหวัดราชบุรีมีศักยภาพในการผลิตกุ้งก้ามกราม จำนวน 10,021.74 ตัน และกุ้งขาว จำนวน 6,035.17 ตัน

ด้านการท่องเที่ยว
ลักษณะการท่องเที่ยว เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ศิลปวัฒนธรรม แหล่งโบราณสถานและวิถีชุมชน เป็นสำคัญ ปี 2551 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 1,115,221 คน มีรายได้จากนักท่องเที่ยวประมาณ 1,153.49 ล้านบาท

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีพื้นที่ป่าเหลืออยู่ประมาณ ประมาณ 1,239,236 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 38.16 ของพื้นที่จังหวัดป่าไม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เขาและเทือกเขาตะนาวศรี

พื้นที่ป่าไม้จังหวัดราชบุรี รวม 2,715.39 ตร.กม. แบ่งตามประเภทได้ดังนี้
  1. ป่าสงวน  จำนวน 1,864.95 ตร.กม.
  2. วนอุทยาน จำนวน 4.80 ตร.กม.
  3. ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 117.81 ตร.กม.
  4. พื้นที่เพื่อการอนุรักษ์และนันทนาการ จำนวน 0.00 ตร.กม.
  5. พื้นที่การปลูกป่าชุมชนและป่าเศรษฐกิจ จำนวน 238.52 ตร.กม.
  6. อุทยานแห่งชาติ จำนวน 0.00 ตร.กม.
  7. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำนวน 489.31 ตร.กม.
ปัญหาคุณภาพน้ำ
จังหวัดราชบุรี มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำแม่กลอง คุณภาพน้ำมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นกล่าวคือ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำของแม่น้ำแม่กลองบริเวณที่ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2551-2552 พบว่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำดีขึ้น

ปัญหาขยะมูลฝอย
ปี 2552 ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล จังหวัดราชบุรี มีจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ 280,151 คน ประชากรแฝง 6,111 คน รวมประชากรในเขตเทศบาลทั้งสิ้น 286,262 คน ปริมาณขยะรวมทั้งสิ้น 259.98 ตันต่อวัน หรือ 94,900 ตัน/ปี ส่งผลให้อัตราการผลิตขยะในพื้นที่จังหวัดราชบุรีเท่ากับ 0.908 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน โดยเทศบาลเมืองราชบุรีมีปริมาณขยะมากที่สุดเท่ากับ 65 ตันต่อวัน และมีอัตราการผลิตขยะ 1.74 กก./คน/วัน รองลงมาได้แก่ เทศบาลเมืองบ้านโป่ง มีปริมาณขยะ 25 ตันต่อวัน และ เทศบาลตำบลบ้านเลือก มีปริมาณขยะ 21 ตันต่อวัน

ที่มา :
สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2552). แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2553-2556. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์. (หน้า 5-7)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น