วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

SWOT ราชบุรีและความต้องการของประชาชน (ล่าสุด 17 ก.ย.2552)

การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมจังหวัดราชบุรี
การประเมินสภาวะแวดล้อม (SWOT) ของจังหวัดราชบุรีโดยมีปัจจัยภายใน (จุดอ่อน จุดแข็ง) และปัจจัยภายนอก (โอกาส ภัยคุกคาม) สามารถสรุปได้ดังนี้

ด้านเศรษฐกิจ
จุดแข็ง
  1. มีตลาดกลางเกษตร จำนวน 2 แห่ง ที่สามารถระบายสินค้าไปสู่ภาคต่างๆได้เป็นอย่างดี
  2. มีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร และอาหารทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและเล็กเป็นจำนวนมาก
  3. มีความคล่องตัวในระบบการขนส่ง และระยะทางไม่ไกลจากกรุงเทพฯ
  4. ผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย เช่น พืช ผัก ผลไม้ กล้วยไม้ ด้านปศุสัตว์เช่น สุกร โคนม
  5. มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายครอบคลุมทุกประเภท รวมทั้งมีวัฒนธรรมพื้นเมือง ภูมิปัญญา ที่เป็นต้นทุนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการผลิตด้านอื่นๆ
  6. แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  7. มีความพร้อมด้านยุทธศาสตร์กำลัง แรงงานที่จะพัฒนาศักยภาพได้
  8. มีแนวท่อก๊าชธรรมชาติผ่าน มีศักยภาพในการก่อสร้างสถานีแรงดันต่ำ พลังงานด้านต่างๆเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมได้
จุดอ่อน
  1. มูลค่าผลผลิต ต่อพื้นที่การเพาะปลูก ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ในขณะที่ จังหวัดในกลุ่มเดียวกัน มีมูลค่าผลผลิตสูงกว่ามูลค่าเฉลี่ยของประเทศ
  2. เกษตรใช้สารเคมีใช้สารเคมีปริมาณมาก
  3. ผลตอบแทนจากการทำเกษตรอินทรีย์ยังไม่จูงใจให้เกษตรกรรักษามาตรฐานการผลิต
  4. ขาดการจัดการน้ำเสีย เป็นสาเหตุต่อการพัฒนาสินค้าตามมาตรฐาน GAP ยั่งยืน
  5. เกษตรกรมีหนี้สินและต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสูง
  6. ขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร
  7. เกษตรกรขาดอำนาจต่อรองทางการตลาดการเกษตร
  8. ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนด้านการเกษตรแปรรูปยังขาดการบริหารจัดการด้านการตลาด
  9. ภาคอุตสาหกรรมประจำท้องถิ่น ขาดมาตรฐานผลผลิตที่ดี
  10. การประชาสัมพันธ์และการบริหารจัดการด้านการตลาดในด้านท่องเที่ยวยังขาดการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
  11. ผู้ประกอบการขาดทักษะในการให้บริการด้านการท่องเที่ยว
  12. ขาดปัจจัยในด้านอัตลักษณ์ (ภาพลักษณ์ เสน่ห์) ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
  13. สถานที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวมีขนาดเล็ก ยังไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ได้
โอกาส
  1. มีกฎหมายด้านวิสาหกิจชุมชน ในการสนับสนุนให้เกิดองค์กรชุมชน
  2. รัฐบาลส่งเสริมการลงทุนของกลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่องในลักษณะกองทุนต่างๆ
  3. มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างต่อเนื่องโดยฝ่ายวิชาการภาครัฐและสถาบันการศึกษา
  4. รัฐบาลมีการส่งเสริมให้ประชาชน ท่องเที่ยวภายในประเทศ
  5. กลุ่มจังหวัดมีทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเป็นวงจรภายในกลุ่มจังหวัด
  6. รัฐบาลส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อการส่งออก
อุปสรรค
  1. ปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลก และโรคระบาด มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศและผลิตอาหารเพื่อการส่งออก
ด้านสังคม
จุดแข็ง
  1. ชุมชนมีความตระหนักมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาสังคมด้วยวิธีของชุมชนเอง
  2. ประชาชนเข้าถึงการบริการสาธารณสุขที่ดี
  3. ประชาชนสถานะที่เหมาะสม พอเพียงต่อมีงานทำและรายได้
  4. วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่นที่ทุกชนเผ่าให้การยอมรับและส่งเสริมการสืบทอด
จุดอ่อน
  1. ปัญหาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินที่ยังไม่ลดลง
  2. เด็กและเยาวชนมีค่านิยมการดำรงชีวิตชีวิตที่ไม่เหมาะสม
  3. เด็กนักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อังกฤษ ภาษาไทย ต่ำกว่าร้อยละ 50
  4. บุคลากรทางการศึกษามีความเชี่ยวชาญวิชาหลัก ในระบบการศึกษาที่ไม่เพียงพอ
  5. ชุมชนยังมีปัญหาด้านสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมชุมชนที่ดี
  6. สังคมยังขาด คุณธรรม จริยธรรมและห่างเหินจากการใช้หลักธรรมมะในการดำเนินชีวิต
  7. สังคมในปัจจุบันมีจิตสาธารณะไม่เพียงพอ ทำให้เกิดพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  8. ขาดการนำทางสังคมที่สามารถประสานสร้างความสมานฉันท์
  9. การละเลยต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้ขาดวินัยทางสังคม
โอกาส
  1. นโยบายรัฐบาล กำหนดให้ทุกฝ่ายเร่งสร้างความสมานฉันท์ โดยใช้ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี
  2. การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการปรับทิศทางของสังคมที่เหมาะสม
อุปสรรค
  1. เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เกิดกระแสการเลียนแบบ วัฒนธรรม และและค่านิยมที่ไม่เหมาะสม

ความต้องการของประชาชนในพื้นที่
จังหวัดราชบุรี ได้ดำเนินการรับฟังความเห็นและความต้องการของส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป การรับฟังดังกล่าวเพื่อนำ ปัญหา และความต้องการของประชาชนจากระดับพื้นที่ มาประสานเชื่อมโยงกับทิศทางการพัฒนาในระดับชาติ และกลุ่มจังหวัด เพื่อประกอบการกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัดราชบุรี สรุปดังนี้

ความต้องการของประชาชน จังหวัดราชบุรี ได้จัดทำแบบสอบถามความความต้องการของประชาชนในพื้นที่โดยตรง ส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาจังหวัดราชบุรี โดยประชาชนได้เสนอความเห็น และความต้องการ ให้จังหวัดดำเนินการตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
  1. การแก้ไขปัญหาการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 41.1
  2. การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต คิดเป็นร้อยละ 29.3
  3. การก้องกันและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 14.2
  4. การป้องกัน ปราบปราม อาชญากรรมและเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 11.5
ความต้องการในการแก้ไขปัญหาในระดับอำเภอ เป็นการรับฟังความเห็นจากประชาคมอำเภอ โดยเชื่อมโยงกับแผนแม่บทชุมชน ผ่านคณะอนุกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการในระดับอำเภอ เพื่อประกอบเป็นความต้องการในระดับพื้นที่ ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัดที่สามารถเชื่อมโยงกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และระดับท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัด สามารถสรุปดังนี้
  1. เป็นเมืองศูนย์รวมแห่งเกษตรปลอดสารพิษประกอบกับกระแสความต้องการอาหารปลอดภัย จะมีผลรุนแรงผลักดันให้เมืองราชบุรีได้มีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรครั้งใหญ่ ดังนั้นตลาดหรือศูนย์รวมผลิตผลทางการเกษตรจะมีบทบาทสำคัญที่จะเป็นกลไกกระทำการให้บรรลุสู่ความเป็นเมืองแห่ง เกษตรปลอดสารพิษ(อ.เมืองราชบุรี)
  2. ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพทางการเกษตร และอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคู่ไปด้วย(อ.บ้านโป่ง)
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างผลผลิตทางเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน โดยเน้นการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพการบริการที่ดี(อ.โพธาราม)
  4. ส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ สู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข(อ.ดำเนินสะดวก)
  5. ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งกลุ่มอาชีพต่างๆให้มีความเข้มแข็ง เน้นการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตที่ดี และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม(อ.วัดเพลง)
  6. ให้มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ และอนุรักษ์ ประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรม(อ.สวนผึ้ง)
  7. ส่งเสริมการปลูกสับปะรด พัฒนาแหล่งน้ำทางการเกษตร(อ.บ้านคา)
ที่มา :
สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2552). แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2553-2556. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์. (หน้า 14-16)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น