วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความเป็นมาข้าวห่อ

ความเป็นมา
บ้านโป่งกระทิงบน ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เดิมชื่อบ้านกะเหรี่ยงว่า “บ้านกุ่ยโน่” ต่อมามีการติดต่อกับชาวไทยมากขึ้น จึงเรียกชื่อเป็นภาษาไทยว่า “บ้านบนเขา” เมื่อทางการ ได้เข้ามาพัฒนาโดย นพค. และ กรป.กลาง ได้พบเห็นกระทิงมากินดินโป่งอยู่บ่อย ๆ จึงเรียกว่า “โป่งกระทิง” แต่เนื่องจากมี 2 หมู่บ้านติดต่อกัน จึงเรียนกว่า “บ้านทิ่ยโท” ซึ่งเข้าถึงกันก่อนเรียกว่า “โป่งกระทิงล่าง” และเรียกอีกหมู่บ้านบนเขาว่า “โป่งกระทิงบน” ปัจจุบันบ้านโป่งกระทิงบนยังมีประชากรชาวกะเหรี่ยงหรือชาวไทยตะนาวศรีเกือบ 50% และยังรักษาประเพณีที่ร่วมใจกันสืบทอดของชาวกะเหรี่ยงในเขต ราชบุรี – เพชรบุรี คือ เทศกาลเดือนเก้า อั้งหมี่ถ่อง หรือ ประเพณีกินข้าวห่อ ซึ่งเป็นการรวมญาติมาพบปะสร้างสรรค์มีการทำพิธีเรียกขวัญ เพื่อเป็นสิริมงคลกับทุกคน


พิธียกเสาหงส์เสาหงส์ ชาวกะเหรี่ยงพุทธในสมัยก่อนมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาแต่หาโอกาสเข้าศึกษาบทเรียนได้ยาก เพราะเป็นชาวป่า ชาวดงไม่เหมือนคนไทยหรือคนมอญที่มีความเจริญรุ่งเรืองในศาสนา ชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อว่า “หงส์” เป็นนกแห่งสวรรค์สามารถเป็นสื่อนำความดี และนำความดีที่ชาวกะเหรี่ยงทำไปบอกกล่าวให้พระพุทธเจ้าได้รับทราบ เพื่อจะได้นำพระธรรมคำสอนที่บริสุทธ์ มาให้ชาวกะเหรี่ยงได้ศึกษาและปฏิบัติต่อไป ด้วยการยึดหลักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะสูงสุด จะมีเจดีย์หรือเสาหลักบ้านเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และมีเสาหงส์เคียงคู่เพื่อใช้ทำพิธีประกอบในวันสำคัญทางศาสนา

อั้งหมี่ถ่อวง ประเพณีกินข้าวห่อ
กะเหรี่ยงโปหรือกะเหรี่ยงโพลง หรือชาวไทยตะนาวศรี เป็นกลุ่มที่อาศัยตามแนวชาวแดนด้านตะวันตกของจังหวัดราชบุรี – เพชรบุรี จังหวัดราชบุรีจะอยู่ในเขตอำเภอสวนผึ้ง ปากท่อ บ้านคา เป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มมายาวนาน
ประเพณีกินข้าวห่อ หรืออั้งหมี่ถ่อง เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับขวัญประจำตัวของคนกะเหรี่ยงเชื่อว่าทุกคนมีขวัญประจำของคนกะเหรี่ยงเชื่อว่าทุกคนมีขวัญประจำตัวเป็นสิริมงคลแก่ตัว หากใครที่ขวัญหายไม่อยู่กับตัว อาจทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ ดังนั้นแต่ละปีชาวกะเหรี่ยงจึงมีประเพณีเรียกขวัญผูกข้อมือกินข้าวห่อขึ้น
ประเพณีกินข้าวห่อจะจัดในเดือน 9 ของทุกปี แต่ละหมู่บ้านจะจัดขึ้นไม่ตรงกันทำให้ญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงสามารถไปมาหาสู่ร่วมกิจกรรมกันได้ ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า เดือน 9 หรือ “หล่าคอก” เป็นเดือนที่ไม่ดี เพราะบรรดาวิญญาณชั่วจะกิน “ขวัญ” ของคนที่เร่ร่อนไม่อยู่กับเนื้อกับตัวทำให้เจ้าของขวัญเจ็บป่วยได้
ก่อนถึงวันงาน 3 วัน ชาวกะเหรี่ยงจะต้องเตรียมอุปกรณ์ เช่น ใบผาก ใบตอง และข้าวเหนียวและเริ่มห่อข้าวเหนียวห่อด้วยใบผากหรือใบตองแล้ว แช่น้ำทิ้งไว้ ในวันสุกดิบจะมีการต้มข้าวทั้งหมดให้เสร็จ พร้อมทั้งเคี่ยวน้ำกะทิและเตรียมอุปกรณ์เซ่นไหว้ในตอนหัวค่ำของวันนี้ จะมีการยิงปืน จุดประทัด เคาะแม่บันได้ ให้เกิดเสียงดังเพื่อเป็นขวัญที่อยู่ไกล ๆ ได้รับรู้และจะได้เดินทางกลับมาในคืนนี้ประตูหน้าต่างของทุกบ้านจะเปิดเอาไว้ เพื่อให้ขวัญที่เดินทางกลับมาเข้าบ้านได้
ก่อนรุ่งอรุณของวันใหม่จะมีการยิงปืน จุดประทัด เคาะแม่บันไดอีกครั้งเพื่อเรียกขวัญที่อยู่ไกลบ้านยังเดินทางมาไม่ถึงให้รีบมา จากนั้นผู้เฒ่าประจำบ้านจำนำเครื่องรับขวัญที่ประกอบด้วย ข้าวห่อครูหรือข้าวห่อพวง กล้วยน้ำว้า อ้อย ยอยดาวเรือง เทียน สร้อยเงิน กำไรเงินและด้ายแดง มาทำพิธีเรียกขวัญ โดยจะไล่ผู้อาวุโสสูงสุด และรองไปตามลำดับในครอบครัว ซึ่งช่วงนี้ลูกหลานที่ไปอยู่ที่อื่นจะได้รู้จักกันว่าใครคือ พี่ ป้า น้า อา หรือน้อง ทำให้เกิดความรักความเกรงใจและความสามัคคีในกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น