วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ต้นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี




ชื่อทั่วไป : ต้นโมกมัน บางครั้งอาจเรียกว่า "โมกน้อย" หรือ "มูกน้อย" และ "มูกมัน"
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia tometosa Roem.& Schuly

ชื่อสามัญ : Ivory, Darabela วงศ์ APOCYNACEAE หรือ วงศ์ลั่นทม

ถิ่นกำเนิด : เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ป่าเบญจพรรณ และป่าโปร่งทั่วไป


ประเภท : ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ
  • ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 8-20 เมตร ต้นปลายตรง เปลือกขาวหรือเท่าอ่อนนิ่ม
ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ปลายใบแหลมเรียวโคนใบสอบ มีขนนุ่มทั้งสองด้าน มีมากด้านท้องใบ ยาว 7-18 ซม.

  • ดอก ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสีขาวอมเหลือง จนถึงม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง เมื่อแก่เต็มที่ดอกบานเกสรเพศมี 5อัน ออกดอกระหว่างเดือน มกราคม ถึง มีนาคม
  • ล ผลเป็นฝัก ยาว 9-35 ซม. มีร่องระหว่างกลางตามยาวของฝัก เมื่อแก่จะแตกตามแนวร่อง ผิวฝักแข็งขรุขระผลแก่ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคมเมล็ด เมล็ดรูปรี ปลายข้างหนึ่งมีขนสีขาวเป็นพู่ปลิวไปตามลมได้ไกล
  • การขยายพันธ์ : เพาะเมล็ด ใช้รากหรือกิ่งปักชำ ตอนกิ่ง

    สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด กลางแจ้ง ทนแสงแดดจัด พบในป่าเบญจพรรณทั่ว ๆ ไปตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,600 เมตร

    ประโยชน์ :

    • เนื้อ ไม้สีขาวนวลถึงขาวอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียดมากเหนียว ใช้ทำเครื่องกลึง เครื่องเล่นสำหรับเด็กเครื่องเขียน ตะเกียบ ไม้บุผนังห้อง
    • เปลือกต้น รักษาโรคไต รักษาธาตุให้ปกติ ทำให้ประจำเดือนปกติ แก้พิษ แมลงสัตว์กัดต่อย ฆ่าเชื้อรำมะนาด คุดทะราด ยางจากต้น แก้บิดมูกเลือด
    • ใบ ขับน้ำเหลือง แก้ท้องมาน ดอกเป็นยาระบาย กระพี้แก้ดีพิการ เนื้อไม้สีขาวนวลถึงขาวอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียดเหนียว ใช้แกะสลัก
    • ดอก เป็นยาระบาย

    1 ความคิดเห็น:

    1. มีท่านใดทราบบ้างครับว่า ทำไมถึงเอาไม้โมกมัน เป็นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี มีความเป็นมาอย่างไร ของการเลือกไม้พรรณนี้ และ มีความหมายอย่างไร กับจ.ราชบุรี

      ตอบลบ